
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ สายไฟ
สายไฟฟ้า คือ อุปกรณ์ที่ใช้ส่งพลังงานไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
สายไฟมีลักษณะ เป็นโลหะที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ หรือที่เรียกว่า ตัวนำไฟฟ้า โดยตัวนำไฟฟ้าแต่ละชนิดจะยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้แตกต่างกัน ส่วนมากวัสดุตัวนำไฟฟ้ามักเป็น ทองแดง และ อลูมิเนียม
สายไฟจึงเป็นสิ่งที่สามารถเห็นได้อยู่ทั่วไปในงานระบบไฟฟ้า และถือว่าเป็นวัสดุหลักที่ใช้ควบคู่ไปกับ ท่อร้อยสายไฟ
อย่างไรก็ตาม สายไฟมีหลายสี หลายชื่อ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า สายไฟประเภทไหนใช้กับงานอะไร สีของสายไฟสามารถเลือกใช้ได้ตามใจชอบหรือไม่ แล้วสายไฟที่ต้องการใช้งานเรียกว่าอะไร มีสายชนิดไหนที่ไม่ต้องใช้คู่กับท่อร้อยสายไฟบ้าง
สยามคอนดูท ขอแนะนำความรู้สายไฟเบื้องต้น เพื่อให้ผู้ที่ต้องการใช้งานสามารถเลือกใช้สายไฟได้อย่างเหมาะสมกับไซท์งาน และสามารถสั่งซื้อสินค้าได้ตรงตามความต้องการ
วิธีการแบ่งประเภท สายไฟ
สามารถแบ่งประเภทสายไฟฟ้า ได้หลายวิธี
- พิกัดแรงดันสายไฟฟ้า
- สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ (Low-Voltage Power Cable)
- สายไฟฟ้าแรงดันกลาง (Medium-Voltage Power Cable)
- สายไฟฟ้าแรงดันสูง (High-Voltage Power Cable)
- การทำงาน
- สายอ่อน (Standarded Wire)
- สายแข็ง (Solid Wire)
- ชนิดของวัสดุตัวนำ
- สายทองแดง
- สายอลูมิเนียม
- การใช้งาน
- สายเปลือย (Bare Wire)
- สายหุ้มฉนวน (Insulated Wire)
- Polyvinyl Chloride (PVC) – อุณหภูมิใช้งาน 70 องศา – 90 องศา
- Cross –Linked Polyethylene (XLPE) – อุณหภูมิใช้งาน 90 องศา
- มาตรฐานการผลิต
- มอก. 11-2553
- IEC 60502
- อื่นๆ เช่น BS, AS
โดยประเทศไทยนิยมแบ่งสายไฟตามพิกัดแรงดันสายไฟฟ้า เหลือเพียง 2 ประเภท คือ สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ และ สายไฟฟ้าแรงสูง
ชนิดของสายไฟ
- สายไฟแรงต่ำ หรือ ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายไฟฟ้า ตั้งแต่ 450-750 โวลต์ นิยมใช้ทั่วไปภายในอาคาร หรือ สายไฟฟ้าในบ้าน เป็นชนิดตัวนำทองแดงหุ้มด้วยฉนวนพีวีซี ที่ผลิตตาม มอก. 11-2531 ซึ่งสามารถแบ่งเป็นประเภทตามขนาด ความทนแรงดันไฟและการใช้งานได้
- สายไฟฟ้าแรงดันกลาง คือ ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายไฟฟ้า ตั้งแต่ 750-1,000 โวลต์
- สายไฟฟ้าแรงสูง คือ ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายไฟฟ้าสูงเกินกว่า 1,000 โวลต์ขึ้นไป ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าสูงจะสามารถส่งกระแสไฟฟ้าไปได้ในระยะทางที่ไกล และมีการสูญเสียทางไฟฟ้าต่ำกว่าระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าต่ำ
ชนิดของสายไฟ มาตรฐานใหม่
เนื่องด้วย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ต้องการยกระดับมาตรฐานสายไฟให้มีมาตรฐานเทียบเท่าสากล (IEC 60227) ประเทศไทยจึงได้มีการเปลี่ยนจาก มอก. 11-2531 แบบเก่า เป็น มอก. 11-2553 แบบใหม่ และใช้จนถึงปัจจุบัน
จากการทีม่ีพระราชกฤษฎีกากาหนดใหส้ายไฟฟา้หมุ้ฉนวนพอลิไวนิลคลอไรด์แรงดันไฟฟ้าที่กำหนด ไม่เกิน 450/750 โวลต์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เมื่อวนั ที่ 24 ตลุ าคม 2555 ซึ่งก็หมายถึงมาตรฐานผลิตภณั ฑ์อสุ าหกรรมที่ มอก.11-2553มีผลบงัคบัใช้ตามกฎหมา
ในปัจจุบันสายไฟฟ้าที่ใช้งานในระบบไฟฟ้าแรงต่ำ (แรงดันไม่เกิน 1,000 โวลต์ ) สามารถแบ่งตัวนำออกเป็นทองแดง และอลูมิเนียม สำหรับฉนวนมีทั้ง PVC, XLPE และอื่นๆ แต่ มอก. 11-2553 ครอบคลุม เฉพาะสายไฟฟ้าที่มีตัวนำเป็น ทองแดง และฉนวนเป็น PVC เท่านั้น สายไฟฟ้าทองแดง หุ้มฉนวน PVC ที่ใช้อยู่เดิม คือ มอก.11-2531 ซึ่งเป็นมาตรฐาน บังคับเช่นกัน จึงถูกทดแทนด้วย มอก.11-2553
อ้างอิง สภาวิศวกรรม
http://www.coe.or.th/coe-2/Download/Articles/Luechai/L3.pdf
การใช้งานสายไฟ มอก. 11-2553
60227 IEC 01
ชนิดเคเบิล 600227 IEC 01
ขนาดสาย 1.5 – 400 ตร.มม
ลักษณะตัวนำ เดี่ยวแข็ง (Solid) หรือ ตีเกลียว (Stranded)
จำนวนแกน แกนเดียว
อุณหภูมิตัวนำ 70 องศา
เปลือกนอก ไม่มี
แรงดันไฟฟ้า 450/750 โวลต์
การใช้งาน
60227 IEC 10
VAF
NYY
VCT
สีของสายไฟ มาตรฐานใหม่
รหัสสีมีความสำคัญในการใช้งาน เนื่องจากจะทำให้ทราบว่า สายไฟฟ้าเส้นนั้นเป็นสายอะไร หรือท่อร้อยสายไฟฟ้าเป็นท่อร้อยสายไฟฟ้าประเภทใด จึงทำให้สะดวกต่อการซ่อมแซมบำรุงรักษา และใช้งานได้อย่างถูกต้องปลอดภัย
จากการเปลี่ยนแปลงมาตรฐาน ทำให้มีการกำหนดค่าสีฉนวนของสายไฟฟ้าใหม่เพื่อให้มีความสอดคล้องกับการกำหนดสีของสายไฟตามมาตรฐานสากล IEC ที่นิยมใช้กันทั่วโลก ข้อดี คือ มาตรฐาน IEC ช่วยให้ช่างไฟฟ้าและวิศวกรไฟฟ้าจากทั่วโลก สามารถทำงานบนพื้นฐานข้อกำหนดและมาตรฐานเดียวกัน หากต้องทำงานร่วมกันก็สามารถทำได้

ข้อกำหนดสีของฉนวนสายไฟตามมาตรฐาน มอก. 11-2553
- สายแกนเดี่ยว ไม่กำหนดสี
- สาย 2 แกน สีฟ้า และน้ำตาล
- สาย 3 แกน (แบบมีสายดิน) สีเขียวแถบเหลือง ฟ้า น้ำตาล
- สาย 3 แกน (แบบไม่มีสายดิน) สีน้ำตาล ดำ เทา
- สาย 4 แกน (แบบมีสายดิน) สีเขียวแถบเหลือง น้ำตาล ดำ เทา
- สาย 4 แกน (แบบไม่มีสายดิน) สีฟ้า น้ำตาล ดำ เทา
- สาย 5 แกน สีเขียวแถบเหลือง ฟ้า น้ำตาล ดำ เทา
ข้อกำหนดสีของสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนแรงดันต่ำตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าของ วสท.
- สายนิวทรัล (สายศูนย์) ใช้สีฟ้า
- สายดิน ใช้สายสีเขียว หรือสีเขียวแถบเหลือง หรือเป็นสายเปลือย
- สายเส้นไฟของระบบไฟฟ้า 1 เฟส ใช้สีอื่นใดที่ต่างจากสายนิวทรัลและสายต่อลงดิน
- สายเส้นไฟของระบบไฟฟ้า 3 เฟส ใช้สายที่มีสีฉนวนหรือทำเครื่องหมายเป็นสีน้ำตาล สีดำ และสีเทา สำหรับเฟส 1, 2 และ 3 ตามลำดับ
- สายไฟฟ้าแกนเดียวขนาด 16 ตร.มม. ขึ้นไปสามารถใช้วิธีทำเครื่องหมายที่ปลายสายแทนการกำหนดสีได้
ข้อกำหนดข้างต้น ยกเว้นสายเมนเข้าอาคาร (สายออกจากมิเตอร์ไฟฟ้าถึงเมนสวิตช์)
โดยจะเห็นว่าในระบบไฟฟ้า 1 เฟส มาตรฐานการติดตั้งไม่ได้กำหนดให้สายเส้นไฟต้องใช้แต่เฉพาะสายสีน้ำตาลเท่านั้น ดังนั้นในระบบไฟฟ้า 1 เฟสตามบ้านเรือนทั่วไป สามารถเลือกใช้สายเส้นไฟเป็นสีอื่นที่ไม่ใช่สีฟ้า, สีเขียว และสีเขียวแถบเหลืองได้
ตัวอย่าง ใช้สาย 60227 IEC 01 (THW) สีดำสำหรับวงจรเต้ารับ ใช้สีขาวสำหรับวงจรแสงสว่าง และใช้สีแดงสำหรับเครื่องปรับอากาศ เพื่อความสะดวกในการแยกวงจรได้ แต่สายนิวทรัลของทุกวงจรต้องใช้สีฟ้า และสายดินต้องใช้สีเขียวหรือเขียวแถบเหลืองเท่านั้น
(อ้างอิง Phelps Dodge)
Download
Yazaki / ยาซากิ
- สายไฟฟ้า THW แบรนด์ Yazaki
- สายไฟฟ้า NYY แบรนด์ Yazaki
- สายไฟฟ้า VCT แบรนด์ Yazaki
- สายไฟฟ้า VAF แบรนด์ Yazaki
- สายไฟฟ้า CVV แบรนด์ Yazaki
- สายไฟฟ้า CD-0.6/1KV-FD แบรนด์ Yazaki
BCC / บางกอกเคเบิ้ล
- สายไฟฟ้า THW แบรนด์ BCC
- สายไฟฟ้า NYY แบรนด์ BCC
- สายไฟฟ้า VCT แบรนด์ BCC
- สายไฟฟ้า VSF แบรนด์ BCC
- สายไฟฟ้า VAF แบรนด์ BCC
- Price List สายไฟฟ้า แบรนด์ BCC
Phelps Dodge / เฟ้ลปส์ ดอดจ์
- สายไฟฟ้าแรงต่ำ
- สายไฟฟ้าแรงกลาง
- สายไฟฟ้าแรงสูง
- สายโทรศัพท์ (ทองแดง) สายดรอฟไวร์ สายเอพี
- สายไฟฟ้ทนไฟ ทนความร้อน FRC
- Price List สายไฟฟ้า แบรนด์ Phelps Dodge
TFOC / ไทยไฟเบอร์ออพติคส์
- สายใยแก้วนำแสง Loose Tube ประเภท Duct, Fig-8, Armored (กันกระรอก), ADSS, ARSS, FRSS, Drop wire for FTTx
- สายโทรศัพท์ ทองแดง TIEV
INTERLINK / อินเตอร์ลิงค์
- สายใยแก้วนำแสง Drop wire
- สายแลน Lan CAT5e CAT6